การตัดชำ


คือ การนำส่วนต่าง ๆ ของพืชพันธุ์ดี เช่น ใบ และ ราก มาตัดและปักชำในวัสดุเพาะชำ เพื่อให้ได้พืชต้นใหม่จากสวนที่นำมาตัดชำ แต่ในที่นี้จะขอแนะนำขั้นตอนการตัดชำกิ่งซึ่ง มีขั้นตอน ดังนี้
1. ตัดโคนกิ่งให้ชิดข้อยาวประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร โดยตัดเฉียงเป็นรูปปากฉลาม และตัดปลายบนให้เหนือตาประมาณ 1 เซนติเมตร
2. ใช้มีดปลายแหลมกรีดบริเวณรอบโคนยาว 1 – 1.5 เซนติเมตร ประมาณ 2 – 3 รอย
3. ปักกิ่งชำลงในวัสดุเพาะชำ ลึกประมาณ 2.5 – 5 เซนติเมตร
4. นำเข้าโรงอบพลาสติก หรือถุงพลาสติกขนาดใหญ่
5. ประมาณ 25 – 30 วัน กิ่งตัดชำจะแตกยอกอ่อน พร้อมออกราก เมื่อมีจำนวนมากพอ จึงย้ายปลูกต่อไป

การติดตา


คือ การเชื่อมประสานส่วนของต้นพืชเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเป็นพืชต้น เดียวกัน โดยการนำแผ่นตาจากกิ่งพันธุ์ดี ไปติดบนต้นตอ การติดตาจะมีวิธีการทำ 2 วิธี คือ วิธีการติดตาแบบลอกเนื้อไม้ และแบบไม่ลอกเนื้อไม้ ซึ่งในทีนี้จะแนะนำเฉพาะขั้นตอน การติดตาแบบลอกเนื้อไม้ ดังนี้
1. เลือกต้นตอในส่วนที่เป็นสีเขียวปนน้ำตาล แล้วกรีดต้นตอจากบนลงล่าง 2 รอย ห่างกันประมาณ 1 ใน 3 ของเส้นรอบวงของต้นตอ ความยาวประมาณ 6 – 7 เซนติเมตร
2. ตัดขวางรอยกรีดด้านบน แล้วลอกเปลือกออกจากด้านบนลงด้านล่าง ตัดเปลือก ที่ลอกออกให้เหลือด้านล่างยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
3. เฉือนแผ่นตายาวประมาณ 7 – 10 เซนติเมตร ลอกเนื้อไม้ออกแล้วตัดแผ่นตา ด้านล่างทิ้ง
4. สอดแผ่นตาลงไปในเปลือกต้นตอ โดยให้ตาตั้งขึ้น แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น
5. ประมาณ 7 – 10 วัน จึงเปิดพลาสติกออก แล้วพันใหม่ โดยเว้นช่องให้ตาโผล่ ออกมา ทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ จึงตัดยอดต้นเดิมแล้วกรีดพลาสติกออก

การทาบกิ่ง



คือ การนำต้นพืช 2 ต้นเป็นต้นเดียวกัน โดยส่วนของต้นตอที่นำมาทาบกิ่ง จะทำหน้าที่เป็นระบบรากอาหารให้กับต้นพันธุ์ดี โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. เลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์เพศปราศจากโรคและแมลง
2. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นรูปโล่ยาวประมาณ 1 – 2 นิ้ว
3. เฉือนต้นตอเป็นรูปปากฉลาม
4. ประกบแผลต้นตอเข้ากับกิ่งพันธุ์ดี พันพลาสติกให้แน่น แล้วมัดต้นตอ กับกิ่งพันธุ์ด้วยเชือกหรือลวด
5. ประมาณ 6 – 7 สัปดาห์ แผลจะติดกันดี รากตุ้มต้นตอจะงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มมีสีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอ จึงจะตัดได้
6. นำลงถุงเพาะชำ พร้อมปักหลังค้ำยัน ต้นเพื่อป้องกันต้นล้ม

การปักชำ

การปักชำกิ่ง (Stem Cutting)

 1. เลือกใช้กิ่งชนิดก่ึงแก่ก่ึงอ่อนลกั ษณะสีเขียวปนน้า ตาล ความยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร ตัด
ส่วนโคนกิ่งใตข้อ้ห่าง 1 เซนติเมตร เป็ นรูปปากฉลามเอียงท ามุม 45 องศา
2. แลว้นา มาจุ่มในสารละลายเร่งการเกิดราก ผ่ึงให้แห้งเล็กนอ้ย นา กิ่งไปปักในถุงข้ีเถา้แกลบให้กิ่ง
เอียงท ามุม 30 องศา จากแนวต้งัฉาก
3. ประมาณ 20-30 วนั กิ่งปักช ามีการเกิดราก จากน้ันน าไปยา้ยเล้ียงในดินผสมบรรจุในถุงด า
ประมาณ 1-2 เดือน จนกิ่งปักชา มีการแตกใบใหม่ออกมา แลว้จึงนา ลงปลูกในแปลง

การตอนกิ่ง


การตอนกิ่ง (Layering)
 เป็นการทา ใหก้ิ่งพืชเกิดใหม่ในขณะที่ยงัอยบู่ นตน้แม่ ขอ้ดีคือมีอาหารจากตน้แม่มาเล้ียงในช่วงที่
รอใหเ้กิดราก นิยมทา ในฤดูฝน โดยเลือกตอนกิ่งที่แข็งพอสมควร มกันิยมใชก้ิ่งที่ต้งัตรง เพราะออกรากง่าย
กวา่ กิ่งที่อยใู่ นแนวนอน ขนาดเส้นผา่ ศูนยก์ลางต้งัแต่ 0.5 ซม. ข้ึนไป มีวธิีการดงัน้ี
 1. การเลือกกิ่ง เลือกกิ่งตอนที่มีความสมบูรณ์ ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป ขนาดเส้นผา่ ศูนยก์ลางกิ่งต้งัแต่
0.5 เซนติเมตรข้ึนไป มกัใชก้ิ่งต้งัตรงมากกวา่ กิ่งที่อยใู่ นแนวนอน เช่น กิ่งกระโดง เพราะมีการเกิดรากดีกวา่
2. การควั่นกิ่ง เพื่อให้เกิดการสะสมอาหารบริเวณตอนบนของรอยควนั่ ความยาวแผลที่ควนั่ กิ่ง
ประมาณ 1 นิ้ว จากน้นั ใชม้ีดขดู เน้ือเยอื่ ดา้นนอกออก
3. การใช้สารเร่ งราก น าเซราดิกซ์ (IBA ความเข้มข้น 3,000 ppm) ละลายดว้ยน้า ใชพ้ ู่กนั ทาบริเวณ
รอยแผลดา้นบน ทิ้งใหแ้หง้พอหมาดๆ
4. การหุ้ มกิ่งตอน ใช้ขุยมะพร้าวเป็ นตุ้มตอน โดยน ามาแช่น้ าแล้วบีบพอหมาดๆ บรรจุใส่
ถุงพลาสติกขนาดประมาณ 2 x 4 นิ้ว แลว้นา ไปหุม้กิ่งตอน
5. การดูแลรักษากิ่งตอนขณะออกราก ตอ้งรักษาความช้ืนให้เหมาะสม ถา้เป็นช่วงหนา้แลง้ตอ้งมี
การใหน้ ้า ตุม้ ตอนเพิ่มข้ึน หลงัจากตอนประมาณ 1-2 เดือน ตดักิ่งตอนลงถุง และเล้ียงไวใ้นโรงเรือนเพาะชา
ประมาณ 1-2 เดือน แล้วจึงน าปลูกในแปลงได้


ดอกราตรี นักเวทย์ยามค่ำคืน




ดอกราตรีคือดอกไม้มหัศจรรย์คือมันจะมีกลิ่นหอมยามค่ำคืน
 วิธีการปลูกก็เหมือนต้นไม้ทั่วไปแต่เวลารดน้ำพยายามอย่าให้โดนดอกไม้เพราะมันจะร่วง

วิธีการขยายพันธุ์
ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง 

ฤดูดอกบาน
ดอกออกตลอดปี ดอกบานเวลากลางคืน ส่งกลิ่นฉุนแรงมาก


เสาวรส พืชเลื้อยอันสวยงาม


ระบบการปลูก
   ทรงต้นและการทำค้าง : ระยะปลูก มีตั้งแต่ 3 - 6 เมตร เนื่องจากเสาวรสมีลำต้นเป็นเถาเลื้อยจึงควรมีการทำค้างแบบซุ้ม จะทำให้ได้ผลผลิตที่สูงกว่าการทำค้างแบบอื่น เกษตรกรต้องลงทุนทำค้างในปีแรกและเนื่องจากเสาวรสจะออกดอกในกิ่งที่แตกใหม่เท่านั้น จึงต้องมีการตัดแต่งกิ่งในปีต่อมา หลังจากการเก็บเกี่ยว ผลผลิตแล้ว   ( ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม ) เพื่อบังคับให้แตกยอดใหม่ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตสูงกว่าเดิม และสูงกว่าต้นที่ไม่ได้ตัดแต่งกิ่ง แต่ไม่ควรตัดหนักเกินไป เพราะจะทำให้ต้นโทรมแห้งตายได้ในภายหลัง

ศัตรูและการป้องกันกำจัด
   โรคร้ายแรงที่พบในแหล่งปลูกใหญ่ๆคือ โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะและติดต่อได้ ถ้าใช้เครื่องมือตัดแต่งกิ่งร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีพืชอาศัยตระกูลแตงและฟักทอง โรคนี้จะแสดงอาการรุนแรงในช่วงอากาศเย็น ทำให้ใบด่าง หงิกและงอ ขนาดของผลเล็กลง โรคสำคัญอีกโรคหนึ่งคือ โรคจุดสีน้ำตาลเกิดจากเชื้อรา มีอาการใบร่วงและจุดสีน้ำตาลที่ผล ป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารประกอบ
คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ แมลงศัตรูที่พบได้แก่ แมลงวันทอง ซึ่งจะเจาะผลอ่อนให้เป็นรูเล็กๆ และอาจทำให้ผลเหี่ยวและร่วงหล่นไป


ที่มาhttp://www.chumphon.doae.go.th/sara/passion_fruit.html

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม